Computer history ฉบับย่อ

ทุกวันนี้คนใ้ช้คอมพิวเตอร์กันเป็นเรื่องปกติ แต่จริงๆ แล้วก่อนหน้านี้คอมพิวเตอร์ไม่ได้หน้าตาแบบนี้ หุ่นเพียวบางแบบนี้ และคอมพิวเตอร์เครื่องหนาๆ เป็นตู้เสื้อผ้า ก็ยังคงมีใช้กันอยู่ในบางที่ กับบางงาน และเมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับชื่อและคำศัพท์พวกนี้ เราก็มักจะงงว่าอะไรมันเป็นอะไรกันแน่ สรุปมาให้เห็นแบบสั้นๆ ง่ายๆ (เพราะว่า ยากๆ ก็ไม่รู้เหมือนกัน) แบบนี้



MainframeMinicomputerWorkstation (RISC)
1964-IBM System/360
1970-IBM System/370
1978-
IBM System/34
1980-
IBM System/38
1983-
IBM System/36
1986-

Sun SPARC
1988-
AS/400
late 1980s-

RISC System/6000 หรือ RS System/6000
1990-IBM System/390
mid 1990s-

DEC Alpha
2000-IBM eServer zSeriesIBM eServer iSeriesIBM eServer pSeries
2006-IBM System z (z Series)IBM System i
2008-

IBM System p

*ตัวที่ใส่ตัวหนาไว้ จะเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีการใช้กันแพร่หลาย ซึ่ง เป็นชื่อที่ให้เรียกกันมาจนถึงทุกวันนี้ อย่างเช่น AS/400 ข้อสังเกตุอีกอย่างหนึ่งก็คือ SUN ได้รับความนิยมจากเครื่อง workstation มากกว่า IBM

AS/400 มักจะมีคนสับสนกับเครื่อง mainframe แต่จริงๆ แล้วมันเป็นเครื่อง minicomputer ที่ IBM ผลิตขึ้นมา เมื่อกระแสความต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีราคาถูกลง เครื่องเล็กลง ประสิทธิภาพอาจจะไม่เท่า Mainframe แต่ก็เพียงพอต่อความต้องการ จนกระทั่งมาถึง PC ซึ่งเป็น architecture แบบ CISC ซึ่งเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับ RISC บน workstation แต่ CISC สามารถผลิตได้ถูกกว่า เครื่อง CISC แรกๆ ก็คือ chip ตระกูล x86 เช่น 386, 486 เดิม ของ Intel

แม้ว่าเครื่อง mainframe และ minicomputer จะถูก IBM ครองตลาด แต่สำหรับเครื่อง workstation ซึ่งเป็น RISC กลับมีผู้ผลิตหลายรายที่ผลิตชิพของตัวเองและ design workstation ขึ้นมาขายแข่งกับ IBM ด้วย อย่างเช่น Sparc ของ Sun Microsystem ซึ่งค่อยข้างดัง และยังมี Alpha ของ DEC (Digital Equipment Corporation) ด้วย

นอกจากคำศัพท์ประเภทเครื่อง และรุ่น ของคอมพิวเตอร์แล้ว OS ก็อีกเป็นปัจจัยหลักที่มาคู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งบางครั้งเราก็จะได้ยิน คนเรียกชื่อ OS แทนชื่อเครื่อง แล้วก็ทำให้เราสับสนไปกันใหญ่ (ไม่รู้คนอื่นจะสับสนเหมือนกันหรือเปล่า) ว่ามันเป็นเครื่องรุ่นใหม่ แบบใหม่ หรืออย่างไร

MVS เกิดขึ้นไปปี 1974 ใชักับเครื่อง IBM System/370 และ System/390
OS/390 เกิดขึ้นมาปี 1995 นำมาใช้บน IBM System/390 แทน MVS
z/OS เป็นการ re-brand OS/390 เดิม ตามเครื่อง IBM System z

อย่างไรก็ตาม OS/390, z/OS หรือ OS อื่นๆ ที่ใช้กับเครื่อง mainframe ก็ยังมี core เป็น MVS จึงเป็นคำเรียกติดปากของคนทั่วไป เหมือนกับที่เราเรียก Redhat เป็น Linux

OS/400 เกิดขึ้นปี 1988 พร้อมกับ AS/400 ที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งภายหลังได้ rename เป็น i5/OS และ IBM i ตาม IBM System i

AIX เป็น OS ที่ใช้บน IBM Workstation หรือเริ่มต้นใช้กับ System/6000 ซึ่งพัฒนามาจาก UNIX System V และ 4.3 BSD-compatible
OpenVMS เป็น OS สำหรับเครื่อง Alpha

นอกจากชื่อ computer ประเภทและรุ่นต่างๆ แล้ว ยังมีระบบคอมพิวเตอร์ที่เคยโด่งดังในสมัยหนึ่ง ของบริษัท Tandem Computers, Inc. ซึ่งใช้ชื่อบริษัทเป็นชื่อของระบบคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบขึ้นโดยใช้แนวคิดแบบ fault-tolerant ซึ่งเป็นระบบที่สามารถรองรับงานได้ 24 ชม. ตลอดทั้งปี โดยออกแบบมาให้มีการรองรับ failure ที่จะเกิดขึ้นทั้งใน software และ hardward (ในขณะที่ mainframe จำเป็นจะต้องมีความเวลาในการ maintenence ซึ่งจะต้องหยุดระบบงานที่มีอยู่ทั้งหมด อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และเป็นที่มาของวันหยุดธนาคารกลางปีนะเอง) ระบบของ Tandem ที่ออกมาตัวแรก ในปี 1975 ชื่อ Tandem-16 หรือ T/16 (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น NonStop I) ซึ่งออกเพื่อรองรับการทำงาน OLTP (On-Line Transaction Processing) ของธนาคาร ระบบ Tandem จะใช้ custom OS (เนื่องจากต้องมีการจัดการเรื่อง failure) โดย OS ตัวแรกชื่อ T/TOS และหลังจากนั้นระบบของ Tandem ก็แพร่หลายออกไป จนในปี 1997 บริษัท Compaq ก็ได้มาซื้อบริษัท Tamdem ไป

Reference:
Wikipedia
Tamdem - Wikipedia
Computer History Museum


No comments:

Post a Comment